Subscribe:

11/24/2554

สรุปรายงานผลการประชุมคณะประศาสน์การขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ สำนักงานใหญ่ ILO ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส

สรุปรายงานผลการประชุมคณะประศาสน์การขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ                  สมัยที่ ๓๑๒  (The 312nd Session of ILO Governing Body)
ประจำวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ณ ห้องประชุมคณะประศาสน์การ สำนักงานใหญ่ ILO
ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส


              ๑.การประชุมกลุ่มรัฐบาลภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Asia Pacific Government Group-ASPAG)

                - ผู้ประสานงาน ASPAG ได้เชิญเจ้าหน้าที่ ILO มาบรรยายสรุปในประเด็น การผนวกรวมนโยบาย (Policy Coherence) ซึ่งผู้แทนสมาพันธรัฐสวิสได้นำเสนอเข้าที่ประชุม ILC สมัยประชุมที่ ๑๐๐ แต่ที่ประชุมไม่อนุญาตให้บรรจุเข้าเป็นวาระเร่งด่วน โดยให้นำมาเสนอใหม่ในที่ประชุม GB สมัยที่ ๓๑๒ ครั้งนี้  ผู้แทนสำนักงาน ILO อธิบายว่า ถึงแม้ Policy Coherence  จะเป็นของใหม่ แต่ในความเป็นจริงก็ได้ มีการดำเนินการไปแล้ว จากการที่ ILO ได้ไปนำเสนอแนวความคิด Global Jobs Pact ในที่ประชุม G20 และได้รับการตอบรับจากที่ประชุมดังกล่าวโดยให้ความสำคัญกับนโยบายการสร้างงานที่มีคุณค่าเป็น หัวใจหลักในการพัฒนามากกว่าการสร้างการค้าเพียงอย่างเดียว ซึ่งองค์การระหว่าง ประเทศที่เกี่ยวข้องกับการเงินและการพัฒนา เช่น ธนาคารโลก OECD ADB IMF G20 ต่างก็ยอมรับ ความสำคัญของการจ้างงานและงานที่มีคุณค่า ทั้งนี้ การพัฒนาในระดับโลกจะทำได้ยากถ้าปราศจาก ความร่วมมือระหว่างองค์กรนานาชาติช่วยผลักดันให้เกิดผลสัมฤทธิ์
                - อย่างไรก็ตาม ยังมีสมาชิก ASPAG จำนวนหนึ่ง เช่น จีน อินเดีย ปากีสถาน อิหร่าน เป็นต้น มีท่าที่ไม่เห็นด้วย และไม่ไว้วางใจว่าจะมีการนำข้อมติดังกล่าวเป็นเครื่องมือในการกีด กันทางการค้าและการพัฒนาด้านการลงทุน และมีคำถามว่า ในเมื่อ Global Jobs Pact ได้รับการยอมรับอยู่แล้ว ทำไม  ILO จึงต้องผลักดันให้เกิดการผนวกรวมด้านนโยบาย (Policy Coherence) ขึ้นมาอีก ซึ่งจะทำให้เกิดความเคลือบแคลงใจว่าจะมีอะไรแอบแฝงอยู่หรือไม่

            ๒. กลุ่มเรื่องการพัฒนานโยบาย (Policy Development Section-POL Section)
                 หัวข้อการเจรจาทางสังคม
                 ๑. รายงานฉบับสุดท้ายของการประชุมเจรจาระดับโลกเกี่ยวกับพัฒนาการใหม่และสิ่งท้าทายในภาคการ โรงแรมและการท่องเที่ยวและผลกระทบต่อการมีงานทำ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และแรงงานสัมพันธ์
                     - การประชุมจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒ภ-๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ที่นครเจนีวา โดยมีผู้แทนรัฐบาล อินโดนีเซียเป็นประธานการประชุม มีผู้เข้าประชุมจากฝ่ายรัฐบาล ๒๑ คน นาย้จาง ๒๐ คน และลูกจ้าง ๓๒ คน
                     - การกำหนดเงื่อนไขของผลลัพธ์เชิงศักยภาพในกลไกการประเมินคุณภาพ
                  มติที่ประชุม
                  คณะประศาสน์การ สมัยที่ ๓๑๒ มีมติรับทราบ
                 ๒. เวทีการเจรจาระดับโลก : บทเรียน
                      - เป็นการสรุปบทเรียนจากการจัดประชุมเจรจาระดับโลก (Global dialogue forum-GDF) เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงประสิทธิภาพและผลักดันให้เกิดผลกระทบจากการประชุมเหล่านี้
                      - จากบทเรียนพบว่าปัญหาที่สำคัญในการประชุมคือการหาฉันทามติร่วมกัน การจัดทำกำหนดการและ การเตรียมการประชุม องค์ประกอบผู้แทนเข้าประชุมและจำนวนผู้แทนแต่ละฝ่าย รายงานประชุมยังขาด ความชัดเจนและก่อความสับสนในบางโอกาส ขาดรูปแบบมาตรฐานของการจัดทำเอกสารประกอบการ ประชุมและสรุปรายงานประเด็นที่เป็นฉันทามติของการประชุมและประเด็นที่ยังตกลงกันไม่ได้ บางเวทีการประชุมยังขาดข้อบังคับในการประชุมที่ชัดเจน การตั้งประธานการประชุมซึ่ง ปกติจะมาจากฝ่ายรัฐบาลซึ่งฝ่ายนายจ้างแลลูกจ้างเห็นว่าควรมาจาก ๓ ฝ่าย
                 มติที่ประชุม
                 คณะประศาสน์การ สมัยที่ ๓๑๒ มีมติให้เลื่อนการพิจารณาไปในการประชุม คณะประศาสน์การในเดือนมีนาคม ๒๕๕๕
               ๓. การบริหารแรงงานและการตรวจแรงงาน : การติดตามผลการอภิปรายทั่วไปของการประชุมใหญ่ ILO สมัยที่ ๑๐๐
                   - เป็นการเสนอแผนปฏิบัติการสำหรับสำนักงาน ILO ในฐานะการติดตามการดำเนินการตาม ข้อมติเกี่ยวกับการบริหารแรงงานและการตรวจแรงงานที่รับรองจากที่ประชุมใหญ่
                   - เรื่องการบริหารแรงงานและการตรวจแรงงานเป็นเรื่องสำคัญมาตั้งแต่ช่วงแรกๆ ของการตั้งองค์การ เมื่อเดือนเมษายน ๒๕๕๒ ได้มีการจัดทำแผนงานด้านการบริหารแรงงานและการตรวจแรงงาน เพื่อสานต่อวิสัยทัศน์ขององค์การในการปรับปรุงการบริหารแรงงานและการตรวจแรงงานของประเทศสมาชิก ซึ่งทั้ง ๒ เรื่องนี้มีความสำคัญเด่นขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในระดับชาติและระหว่างประเทศ โดยได้มีการดำเนินงานหลายโครงการด้วยเงินสนับสนุนจากประเทศผู้บริจาค อาทิ แคนาดา ฝรั่งเศส อิตาบี นอร์เวย์ และสหรัฐฯ
                 - ข้อมติดังกล่าว เน้นเรื่องต่อไปนี้
                 - บทบาทเชิงรุกของการบริหารแรงงาน อาทิ การบริการจัดหางานภาครัฐ การบรรลุวาระงานที่มี คุณค่าและธรรมาภิบาล การส่งเสริมการให้สัตยาบันอนุสัญญา
                 - การสร้างศักยภาพของประเทศโดยอาศัยแผนงานและโครงการความร่วมมือทางวิชาการ อาทิ กลยุทธ์ในการส่งเสริมการปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานแก่คนงานทุกคน พร้อมไปกับการใช้ทรัพยากร ที่มีอยู่ให้มีประโยชน์สูงสุด
                - ส่งเสริมการปรึกษาหารือไตรภาคีเกี่ยวกับการบริหารแรงงานและนโยบายและการปฏิบัติงานการ ตรวจแรงงาน เฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมการเจรจาไตรภาคีเพื่อแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตาม กฎหมายแรงงาน
                - การพัฒนาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการที่จะให้แก่ประเทศสมาชิกเกี่ยวกับการบริหารแรงงาน และการตรวจแรงงานทั้งในและนอก ILO ระบบพหุภาคี และเครือข่ายระดับภูมิภาค
                - แผนปฏิบัติการที่สำนักงาน ILO เสนอ ได้แก่
                  ๑. การส่งเสริมการให้สัตยาบันอนุสัญญาและการปฏิบัติตามมาตรฐานแรงงานอย่างมีประสิทธิผล
                  ๒. การพัฒนายุทธศาสตร์และเครื่องมือในการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ไตรภาคีประเทศสมาชิก
                  ๓. การสร้างองค์ความรู้ด้านการบริหารแรงงานและการตรวจแรงงาน
                  ๔. การแลกเปลี่ยนการปฏิบัติที่ดี
                  ๕. การส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนในการทำงานและความร่วมมือแนวนอนระหว่างระบบพหุภาคี และเครือข่ายระหว่างประเทศเพื่อขยายพันธมิตรในการทำงานและชุมชนของผู้เชี่ยวชาญ
                  ๖. ปรับปรุงประสิทธิภาพของสำนักงาน ILO และการรประสานงานภายในเกี่ยวกับการ บริหารแรงงานและการตรวจแรงงาน

                มติที่ประชุม
                คณะประศาสน์การ สมัยที่ ๓๑๒ มีมติเห็นชอบข้อเสนอทั้ง ๖ ข้างต้น และขอให้ผู้อำนวยการใหญ่รายงานคณะประศาสน์การทราบผลการดำเนินงานเป็นระยะ


             ๓. กลุ่มเรื่องแผนงาน การเงินและการบริหาร (Programme, Financial and Administrative Section)

                 ๑. ความสัมพันธ์ในการจ้างงาน
                      - คณะประศาสน์การได้เปิดโอกาสให้ผู้แทนสหภาพเจ้าหน้าที่สำนักงาน ILO ได้มากล่าวคำปราศรัยต่อ
                      ที่ประชุม สืบเนื่องมาจากข้อขัดแย้งระหว่างผู้แทนสหภาพฯ และผู้บริหารระดับสูงของ ILO เกี่ยวกับ ความโปร่งใสในการบริหารงานด้านบุคลากรของสำนักงาน ILO และสำนักงาน ILO ปิดกั้นให้เกิดการ เจรจาร่วมตามมาตรฐานแรงงานสากลที่ ILO เป็นผู้กำหนดเอง จนนำไปสู่การนัดหยุดงาน แล้วปิดกั้นห้องประชุมในสมัยที่ ๓๑๐ เมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๕๔ ซึ่งผู้แทนสหภาพพนักงานกล่าวว่า จนในขณะนี้ปัญหาก็ยังไม่ได้สิ้นสุดลง เพียงแต่มีกลไกขึ้นมาเจรจาต่อรองเพื่อแก้ไขปัญหาแล้ว ผลเป็นอย่างไรจะได้มาสรุปให้คณะประศาสน์การทราบในคราวต่อไป
                      มติที่ประชุม
                      คณะประศาสน์การ สมัยที่ ๓๑๒ มีมติรับทราบ
                  ๒. รายงานของคณะกรรมการของคณะกรรมาธิการข้าราชการพลเรือนระหว่างประเทศ (Report on the International Civil Service Commission) เป็นการเสนอข้อเสนอเบื้องต้นของ คณะกรรมาธิการข้าราชการพลเรือนระหว่างประเทศ (เจ้าหน้าที่องค์การระหว่างประเทศในระบบ สหประชาชาติ) เกี่ยวกับเงินเดือน/ค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งหากได้รับความเห็นชอบจากการประชุมใหญ่ สหประชาชาติประจำปี ๒๕๕๔  ก็จะมีผลต่อการปรับขึ้นเงินเดือนและรายได้ของเจ้าหน้าที่ ILO ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๕ ประมาณร้อยละ  ๑.๓ ซึ่งจะนำมาบรรจุลงในแผนงานงบประมาณปี ๒๕๕๕ – ๒๕๕๖ ต่อไป
                       มติที่ประชุม
                       คณะประศาสน์การ สมัยที่ ๓๑๒ มีมติเห็นชอบ
                  ๓. สรุปสถานะงบประมาณตามแผนงานและงบประมาณปีงบประมาณปี ๒๕๕๓-๒๕๕๔ : ในส่วนของบัญชีงบประมาณปกติและกองทุนเพื่อการทำงาน (Programme and Budget for 2010 – 2011 : Regular Budget Account and Working Capital Fund)
                       - ในปีงบประมาณ ๒๕๕๓ – ๒๕๕๔ สำนักงาน ILO มีรายรับทั้งสิ้น ๖๔๙.๑๔ ล้านสวิสฟรังก์ หรือ ๖๐๖.๖๗ ล้านดอลลาร์สหรัฐ (คำนวณจากอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดเมื่อจัดทำคำของงบประมาณ ที่ ๑.๐๗ สวิสฟรังก์ ต่อ ๑ ดอลลาร์สหรัฐ ขณะนี้มีการใช้จ่ายไปแล้ว ๕๗๐.๖๓ ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีเงินคงเหลือ ๓๖.๐๔  (เมื่อสิ้นเดือนกันยายน ๒๕๕๔) อนึ่ง ในช่วงปี ๒๕๕๔ เงินสวิสฟรังก์แข็ง ค่าขึ้นมากจากที่ได้ประมาณการไว้ ส่วนต่างของเงินที่ได้จากการแลกเปลี่ยนจะนำไปบวกลบในกองทุน Net Premium ต่อไป
                      - สำหรับในส่วนของกองทุนเพื่อการทำงาน ( Working Capital Fund) เมื่อ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔  ยังมีเงินคงเหลืออยู่ ๓๕ ล้านสวิสฟรังก์
                      มติที่ประชุม
                      คณะประศาสน์การ สมัยที่ ๓๑๒ มีมติให้ผู้อำนวยการใหญ่ ILO จัดทำข้อเสนอการโยกย้าย งบประมาณคงเหลือก่อนจะปิดงวดงบประมาณ ๒ ปี เมื่อสิ้นเดือน ธันวาคม ๒๕๕๔ นี้เพื่อที่จะได้นำข้อสรุปไปนำเสนอเพื่อพิจารณาในการประชุมคณะประศาสน์การ สมัยที่ ๓๑๓ ในเดือนมีนาคม ๒๕๕๕ ต่อไป

ที่มา : mol.go.th

1 ความคิดเห็น:

ckg5555@gmail.com กล่าวว่า...

ไม่มีคนงานเกาหลีเหนือเข้าทำงานศูนย์อุตสาหกรรมเคซองแล้ว
ควรเฝ้าระวังช่วงวันที่ 10-15 เมษา
http://www.chanchaivision.com/2013/04/koreaupdate130409.html

แสดงความคิดเห็น